วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เยอรมันทำสำเร็จ "พลาสติกนำไฟฟ้า"

เยอรมันทำสำเร็จ "พลาสติกนำไฟฟ้า"



วัสดุลูกผสมพลาสติก-โลหะที่มีลักษณะเป็นเม็ด ซึ่งในอนาคตพลาสติกนำไฟฟ้าจะมีความอ่อนนุ่มมากขึ้น และประยุกต์ใช้งานได้เหมือนแผงวงจรไฟฟ้า (ภาพไอเอฟเอเอ็ม)อาจฟังดูเหมือนโลกกลับตาลปัตร สำหรับพลาสติกนำไฟฟ้า ที่เบายิ่งกว่าขนนก แต่นักวิจัยเยอรมันก็ทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้แล้ว และยังพัฒนาวิธีลดต้นทุนพลาสติกนำไฟฟ้าให้ถูกลงด้วยทั้งนี้พลาสติกเป็นวัสดุราคาถูก น้ำหนักเบาแต่ไม่นำไฟฟ้า ขณะที่โลหะยืดหยุ่นและนำไฟฟ้าได้ แต่ก็มีราคาแพงและมีน้ำหนักมาก ทุกวันนี้เราก็ยังไม่สามารถรวบคุณสมบัติของวัสดุทั้ง 2 เข้าไว้ด้วยกันได้ แต่ล่าสุดไซน์เดลีได้เปิดเผยว่านักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิศวอุตสาหการและวัสดุประยุกต์เฟราน์โฮเฟอร์ หรือ ไอเอฟเอเอ็ม (Fraunhofer-Institut für Fertigungstechnik und Angewandte Materialforschung :IFAM) ในเมืองเบรเมน เยอรมนี ได้พัฒนาส่วนผสมที่รวมข้อดีของวัสดุ 2 ชนิดไว้ด้วยกัน โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องจักรใหม่ความท้าทายสำคัญ สำหรับนักวิจัยคือการพัฒนาให้นำไฟฟ้าได้ ซึ่งมีทั้งความพยายามพัฒนาพลาสติกลูกผสมที่พิทพ์วงจรไฟฟ้าลงบนแผ่นพลาสติก แล้วในไปประยุกต์ใช้ในรถยนต์หรือเครื่องบิน และจนถึงทุกวันนี้ก็ทำได้เพียงกดหรือบิดแผ่นโลหะในกระบวนการที่ซับซ้อนเพื่อรวมให้เป็นวัสดุชิ้นเดียวกันหากส่วนผสมที่นักวิจัยไอเอฟเอเอ็มพัฒนาขึ้นมาเรียบง่ายกว่าวิธีที่มีการพัฒนากันอยู่ โดยวัสดุ 2 ชนิดไม่ได้แทรกสอดหรือยึดรวมกันไว้ หากแต่เป็นการผสมด้วยกระบวนการพิเศษ ให้กลายเป็นวัสดุชิ้นเดียวกัน กระบวนการที่พัฒนาขึ้นทำให้ได้ตาข่ายนำไฟฟ้าที่เป็นเนื้อเดียวกันวัสดุลูกผสมนี้มีความเสถียรทางเคมีและมีน้ำหนักเบา อีกทั้งยังมีความสามารถในการนำไฟฟ้าและความร้อนเช่นเดียวกับโลหะด้วย และในอนาคตนอกจากไม่จำเป็นต้องรวมวงจรไฟฟ้าที่เป็นโลหะเข้ากับแผ่นพลาสติกแล้ว ยังสามารถผลิตพลาสติกนำไฟฟ้าในขั้นตอนเดียว ด้วยราคาที่ถูกกว่าและน้ำหนักของวัสดุที่เบาลงด้วยอย่างไรก็ดีไซน์เดลีไม่ได้ระบุว่า พลาสติกนำไฟฟ้าที่พัมนาขึ้นมานั้นมีราคาถูกลงเท่าไหร่การพัฒนานี้มีประโยชน์ยิ่งต่อวงการอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องบิน และส่วนประกอบของเครื่องบินหลายชิ้นผลิตขึ้นจากวัสดุผสมเส้นใยคาร์บอน ซึ่งแม้จะให้น้ำหนักเบาแต่ก็ขาดความสามารถในการนำไฟฟ้า.จาก http://www.manager.co.th/

ไม่มีความคิดเห็น: