วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
นวัตกรรมใหม่ของ Nokia โทรศัพท์มือถือยืดหยุ่น
นวัตกรรมใหม่ล่าสุดแทนรถยนต์
เซกเวย์ คืออะไร มหัศจรรย์อย่างที่กล่าวถึงจริงหรือไม่ ฟิสิกส์ราชมงคลจะเปิดเผยให้ทราบในหน้าถัดไป
เยอรมันทำสำเร็จ "พลาสติกนำไฟฟ้า"
วัสดุลูกผสมพลาสติก-โลหะที่มีลักษณะเป็นเม็ด ซึ่งในอนาคตพลาสติกนำไฟฟ้าจะมีความอ่อนนุ่มมากขึ้น และประยุกต์ใช้งานได้เหมือนแผงวงจรไฟฟ้า (ภาพไอเอฟเอเอ็ม)อาจฟังดูเหมือนโลกกลับตาลปัตร สำหรับพลาสติกนำไฟฟ้า ที่เบายิ่งกว่าขนนก แต่นักวิจัยเยอรมันก็ทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้แล้ว และยังพัฒนาวิธีลดต้นทุนพลาสติกนำไฟฟ้าให้ถูกลงด้วยทั้งนี้พลาสติกเป็นวัสดุราคาถูก น้ำหนักเบาแต่ไม่นำไฟฟ้า ขณะที่โลหะยืดหยุ่นและนำไฟฟ้าได้ แต่ก็มีราคาแพงและมีน้ำหนักมาก ทุกวันนี้เราก็ยังไม่สามารถรวบคุณสมบัติของวัสดุทั้ง 2 เข้าไว้ด้วยกันได้ แต่ล่าสุดไซน์เดลีได้เปิดเผยว่านักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิศวอุตสาหการและวัสดุประยุกต์เฟราน์โฮเฟอร์ หรือ ไอเอฟเอเอ็ม (Fraunhofer-Institut für Fertigungstechnik und Angewandte Materialforschung :IFAM) ในเมืองเบรเมน เยอรมนี ได้พัฒนาส่วนผสมที่รวมข้อดีของวัสดุ 2 ชนิดไว้ด้วยกัน โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องจักรใหม่ความท้าทายสำคัญ สำหรับนักวิจัยคือการพัฒนาให้นำไฟฟ้าได้ ซึ่งมีทั้งความพยายามพัฒนาพลาสติกลูกผสมที่พิทพ์วงจรไฟฟ้าลงบนแผ่นพลาสติก แล้วในไปประยุกต์ใช้ในรถยนต์หรือเครื่องบิน และจนถึงทุกวันนี้ก็ทำได้เพียงกดหรือบิดแผ่นโลหะในกระบวนการที่ซับซ้อนเพื่อรวมให้เป็นวัสดุชิ้นเดียวกันหากส่วนผสมที่นักวิจัยไอเอฟเอเอ็มพัฒนาขึ้นมาเรียบง่ายกว่าวิธีที่มีการพัฒนากันอยู่ โดยวัสดุ 2 ชนิดไม่ได้แทรกสอดหรือยึดรวมกันไว้ หากแต่เป็นการผสมด้วยกระบวนการพิเศษ ให้กลายเป็นวัสดุชิ้นเดียวกัน กระบวนการที่พัฒนาขึ้นทำให้ได้ตาข่ายนำไฟฟ้าที่เป็นเนื้อเดียวกันวัสดุลูกผสมนี้มีความเสถียรทางเคมีและมีน้ำหนักเบา อีกทั้งยังมีความสามารถในการนำไฟฟ้าและความร้อนเช่นเดียวกับโลหะด้วย และในอนาคตนอกจากไม่จำเป็นต้องรวมวงจรไฟฟ้าที่เป็นโลหะเข้ากับแผ่นพลาสติกแล้ว ยังสามารถผลิตพลาสติกนำไฟฟ้าในขั้นตอนเดียว ด้วยราคาที่ถูกกว่าและน้ำหนักของวัสดุที่เบาลงด้วยอย่างไรก็ดีไซน์เดลีไม่ได้ระบุว่า พลาสติกนำไฟฟ้าที่พัมนาขึ้นมานั้นมีราคาถูกลงเท่าไหร่การพัฒนานี้มีประโยชน์ยิ่งต่อวงการอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องบิน และส่วนประกอบของเครื่องบินหลายชิ้นผลิตขึ้นจากวัสดุผสมเส้นใยคาร์บอน ซึ่งแม้จะให้น้ำหนักเบาแต่ก็ขาดความสามารถในการนำไฟฟ้า.จาก http://www.manager.co.th/
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้งหรือมีชื่อย่อว่า Centex Shrimp ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2544 หน่วยวิจัยฯ นี้เกิดขึ้นจากการผนึกกำลังของห้องปฏิบัติการ จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ภาควิชาชีวเคมีและภาควิชา เทคโนโลยี ชีวภาพ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิสัยทัศน์
พันธกิจใช้หลักการและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมาผลิตกุ้งที่มีคุณภาพสูงนำความรู้ความเข้าใจที่ได้ จากงานวิจัย ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ดีมาใช้ในการสนับสนุน นำงานวิจัยทางอณูชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีสุขภาพดี มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
กลยุทธ์
-ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับกุ้งกุลาดำ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และหน่วยงานทั้งภายในประเทศและนานาชาติ
-ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแห่งชาติและระดับภาคพื้นภูมิภาคในการทำงานวิจัยและฝึกอบรมทางด้านอณูชีววิทยาและ เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
-ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทย เพื่อให้งานวิจัยของ Centex Shrimp มิใช่เป็นประโยชน์เพียงเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม การเลี้ยงกุ้งของไทยได้ด้วย
งานวิจัยและพัฒนา
-การศึกษาโรคกุ้งที่เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และปาราสิตในระดับโมเลกุล
-การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคในกุ้งชนิดสำเร็จรูป
-การศึกษากลไกระบบภูมิคุ้มกันในระดับน้ำเหลืองและเซลล์กุ้ง
-การตรวจสอบวิเคราะห์จีโนมกุ้ง
-การวิจัยทางโภชนาการของกุ้ง
-การพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์กุ้งกุลาดำให้ปลอดเชื้อ
ผลงานเด่น
รางวัลที่ได้รับ
-รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ประจำปีพ.ศ.2543 โดยคณะผู้วิจัยประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม วิทยชำนาญกุล ศาสตราจารย์ ดร.ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล และ ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย บุญแสง ภายใต้การวิจัยเรื่อง การวินิจฉัยและการควบคุมโรคไวรัสในกุ้งกุลาดำ
-รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปีพ.ศ.2546 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตกุ้งกุลาดำ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การวิจัยเรื่อง การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอในการวินิจฉัยโรคและการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาดำ (ศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม วิทยชำนาญกุล ศาสตราจารย์ ดร.ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล และ ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย บุญแสง โดยความร่วมมือกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
-รางวัลทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทยเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ปี 2548 ของบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งชาติ (UNESCO) ภายใต้การวิจัยเรื่อง “การศึกษาพาหะของเชื้อ Taura Syndrome Virus ด้วยวิธี RT-PCR” (นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย)
การบริการวิชาการ
-การจัดการฝึกอบรมในระดับภูมิภาคประจำปีในหัวข้อชีววิทยาและพยาธิวิทยาในกุ้งโดยมีผู้ร่วมอบรม จากมหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรม และผู้สนใจจากต่างประเทศ
-การผลิตนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งจะมีการหมุนเวียนของนักศึกษาปริญญาโทและเอกจำนวน 15-20 คนตลอดเวลา
-การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการการควบคุมโรคกุ้ง รวมทั้งการพัฒนาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กุ้ง
-การจัดฝึกอบรมต่างๆ ตามความสนใจของภาคอุตสาหกรรม
อุปกรณ์การวิจัยที่สำคัญ
-ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ
-ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อและกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องผ่าน
-ห้องปฏิบัติการพีซีอาร์และ Proteomics
-บ่อทดลองเลี้ยงกุ้ง
การร่วมมือกับหน่วยงานอื่นหน่วยงานในประเทศ
-กรมวิชาการเกษตร ในการทำงานเกี่ยวกับการควบคุมโรคและการเลี้ยงกุ้งปลอดเชื้อ
-ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการทำงานเกี่ยวกับพันธุกรรมกุ้ง
-ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในการทำงานเกี่ยวกับการแยก การศึกษา คุณสมบัติของเชื้อโรค รวมทั้งวิธีวินิจฉัย
-ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการพัฒนาชุดตรวจสอบที่ใช้ ในการวินิจฉัยโรค
-ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการศึกษากลไกที่เกี่ยวข้องกับการตายของกุ้งแบบ Apoptosis
-ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการพัฒนาชุดตรวจสอบในการวินิจฉัย และควบคุมโรค
หน่วยงานต่างประเทศ
-Zoology department, National University of Taiwan on shrimp disease and genetics
-CSIRO Livestock Industries, Queensland Bioscience Precinct, Australia on shrimp diagnosis and control
-Department of Comparative Physiology, Evolutionary Biology Center, Uppsala
-James Cook University, Australia on shrimp pathogen characterization
-Oceanic Institute, Hawaii on shrimp maturation and genetics
บุคลากร
หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทค
วิสัยทัศน์
เพื่อเป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยชั้นนำของประเทศที่มีความเป็นเลิศทางด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพ
พันธกิจ
-หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคมุ่งเน้นในการดำเนินงานวิจัยตามแผนยุทธศาสตร์ของศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โดยเฉพาะด้านเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ
-พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้เกิดธุรกิจใหม่ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับวงการธุรกิจ ของไทยโดยใช้นวัตกรรมที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา
กลยุทธ์
หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคมุ่งที่จะสร้างองค์ความรู้พื้นฐาน ทำการสังเคราะห์และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่พร้อมแล้วให้แก่สาธารณชน และตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งสนับสนุนการร่วมมือในการทำวิจัยระหว่างนักวิจัยของหน่วยฯกับหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเสริมสร้างความสามารถของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระดับนานาชาติ
งานวิจัยและพัฒนา
หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวงการวิจัยของประเทศ โดยแบ่งกลุ่มงานวิจัยที่เป็นแกนหลักเป็น 3 โปรแกรมการวิจัยคือ
1. โปรแกรมการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology Research Unit)
มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพของอาหารและพืช โดยมีเป้าหมายในการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยปรับปรุงคุณภาพ และเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสูง โดยมีการวิจัยที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีต้นเชื้อเพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารหมักไทย การผลิตพืชหัวท่อนขนาดเล็กที่ปลอดโรค การคัดเลือกพืชที่ทนความเค็มและความแห้งแล้ง รวมทั้งการศึกษากลไกการสร้างแป้งในพืชหัวเพื่อเพิ่มมูลค่า
งานวิจัยและพัฒนา
-การศึกษาอัตราการหมักและการเกิดขึ้นของสารเมตตาบอไลต์ในระหว่างการหมักแหนมด้วยต้นเชื้อบริสุทธิ์
-การพัฒนาการเพิ่มปริมาณชีวมวลของจุลินทรีย์ โดยการปรับปรุงสูตรอาหารเลี้ยงและพัฒนากระบวนการหมัก
-การพัฒนาและประยุกต์ใช้ต้นเชื้อผงแห้งในการหมักแหนมในระดับอุตสาหกรรม
-การเปลี่ยนแปลงทางเคมี–ฟิสิกส์และชีวเคมีของแหนมในระหว่างการหมัก
-การศึกษาปฏิกิริยาตอบสนองและการแสดงออกของยีนทนเค็มในข้าวหอม โดยผ่านทางระบบ osmoregulation
-การศึกษาระบบทางสรีรวิทยาและชีวเคมีข้าวพันธุ์ทนเค็มภายใต้ระบบการควบคุมสภาพแวดล้อม
-การพัฒนาระบบการควบคุมการเกิดท่อนพันธุ์ขิงขนาดเล็กเพื่อลดต้นทุนการผลิต
-การประยุกต์เทคโนโลยีผลิตท่อนพันธุ์ขนาดเล็กปลอดโรคในพืชดอก
-การวิเคราะห์และการตรวจหายีนที่เกี่ยวข้องในเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างแป้งในมันสำปะหลังสายพันธุ์ต่างๆ โดยมีการเก็บแป้งที่ระดับต่างๆกัน
-กระบวนการขนส่งน้ำตาลและการเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแป้งในมันสำปะหลัง
-การตรวจหาโปรโมเตอร์ที่จำเพาะในการสร้างและพัฒนาพืชหัวในหลอดทดลอง
ผลงานเด่น
-เทคโนโลยีต้นเชื้อสำหรับการหมักแหนม
-การผลิตท่อนพันธุ์ขิงขนาดเล็กปลอดโรค
ความเชี่ยวชาญ
-Starter culture technology
-Food chemistry and microbiology
-Bioprocess engineering
-Plant physiology, biochemistry and molecular biology
-Plant cell and tissue culture
2. โปรแกรมการวิจัยทรัพยากรชีวภาพ (Bioresources Research Unit)
มุ่งเน้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพของประเทศ โดยประกอบไปด้วยกลุ่มงานวิจัยต่างๆ ที่ มีการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่การสำรวจและเก็บตัวอย่างพืชและจุลินทรีย์จากธรรมชาติ การจำแนกและการแยก ชนิดของจุลินทรีย์ให้บริสุทธิ์ การจัดเก็บรักษาเชื้อสายพันธุ์จุลินทรีย์บริสุทธิ์ที่แยกได้ การนำไปใช้ประโยชน์ โดยการคัดหาเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรม และการศึกษาหาสารออกฤทธ์ทางชีวภาพเพื่อ นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเป็นยาใหม่ รวมทั้งการวิจัยกลไกที่เกี่ยวข้องกับยาบางชนิด นอกจากนี้ยังทำการวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ป่าโดยใช้ความรู้ทางด้านนิเวศวิทยาและการจัดทำฐานข้อมูลแปลงศึกษาความ หลากหลายทางชีวภาพดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรแกรมการวิจัยทรัพยากรชีวภาพประกอบด้วยกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความสมบูรณ์และครบวงจรของกลุ่มงานวิจัยในด้านนี้อย่างมาก และถือได้ว่าเป็นกลุ่มวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพที่อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ และมีบทบาทสำคัญในการที่จะพัฒนางานวิจัยในสาขานี้ของประเทศ โดยได้ร่วมมือทำงานวิจัยและให้คำแนะนำแก่นักวิจัยจากทั้งสถาบันการศึกษาและสถาบันการวิจัยอื่นๆทั่วประเทศ
งานวิจัยและพัฒนา
-การศึกษาวิจัยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและสูตรโครงสร้างของสารสกัดโดยวิธี activity guided isolation --จากพืชสมุนไพรและจุลินทรีย์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นยาสำหรับคน สัตว์ พืชหรือเอนไซม์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
-การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเชื้อราในประเทศไทย ได้แก่ ราแมลง เชื้อราบนเมล็ด ราทะเล ราที่ต้นปาล์มในป่าดิบชื้น
-การตรวจสอบหาเอ็นไซม์ที่ทำกิจกรรมได้ในสภาวะที่มีความเป็นกรดด่างสูงจากเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย
-การศึกษาคุณสมบัติและปรับปรุงประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรมจากเชื้อราที่แยกได้ในประเทศไทย
-การคัดแยกและการแสดงออกของยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรมจาก เชื้อจุลินทรีย์ที่เลี้ยงได้และไม่ได้ในห้องปฏิบัติการ เคมีของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากพืชและจุลินทรีย์
-การศึกษากลไกการชดเชยระหว่างเอ็นไซม์ COX-1 COX-2 และ PLA2 ในเซลล์ที่ขาด COX-1 หรือ COX-2
-บทบาทของชะนีในการฟื้นตัวของป่าในแปลงศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพมอสิงโต อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
-การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าฮาลา-บาลา ทางภาคใต้ของประเทศไทย
ปรากฎการณ์เอลนีโญ ปรากฎการณ์เอนโซ่ (เอลนีโญ/ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ) ENSO (El Nin o/Southern Oscillation) Phenomenonตามปกติ บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ หรือทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตร จะมีน้ำเย็นใต้มหาสมุทรพัดขึ้นมายังผิวน้ำ ขบวนการนี้คือการพัดขึ้นมาแทนที่ของกระแสน้ำเย็นจากใต้มหาสมุทรขึ้นมาตาม บริเวณชายฝั่งอัน เป็นผลเกิดจากลมสินค้า ตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงพัดขนานฝั่งบวกกับการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่ลมบวกกับการหมุนของ โลกผลักดันให้ผิวน้ำเบื้องบน ที่อุ่นพัดห่างจากฝั่งไป น้ำเย็นข้างล่างที่อุดมด้วยแร่ธาตุอาหารปลาจะพัดขึ้นมาแทนที่ผิวน้ำอุ่นที่ถูกพัดพาไป บริเวณชายฝั่งที่มีกระแสน้ำเย็น พัดขึ้นมาแทนที่จะเป็นบริเวณที่เหมาะที่สุดสำหรับการเจริญพันธุ์ของปลาทะเล ทั่วโลกจะมีบริเวณเช่นนี้อยู่ 5 บริเวณใหญ่ ๆ คือ
1. บริเวณชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย(ชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา)
2. ชายฝั่งประเทศ เปรู(ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้)
3. ชายฝั่งประเทศนามิเบีย(ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอาฟริกา)
4. ชายฝั่งประเทศโมริตาเนีย ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอาฟริกา)
5. ชายฝั่งประเทศโซมาเลีย(ชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปอาฟริกา)
สำหรับชายฝั่งประเทศเปรูเป็นบริเวณที่มีผลผลิตของปลามากที่สุดแห่งหนึ่ง
ปกติลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้จะพัดอยู่เป็นประจำบริเวณเขตร้อนในซีกโลกใต้(ระหว่างเส้นศูนย์สูตรและละติจูด 30องศาใต้)และบางครั้งลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดอยู่บริเวณตะวันตกและตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้จะอ่อนกำลังลงหรือพัดกลับทิศตรงกันข้าม ซึ่งจะมีผลก่อให้เกิดคลื่น มหาสมุทรพัดพาไป ในทิศตะวันออกสวนกับทิศลมเดิม เมื่อคลื่นนี้พัดพาไปถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้(บริเวณประเทศเปรูใกล้กับเส้นศูนย์สูตร) ผิวน้ำทะเลที่อุ่น ที่ถูกพัดพามาด้วยคลื่นก็จะแทนที่กระแสน้ำเย็นที่พัดขึ้นมาจากใต้มหาสมุทรซึ่งมีอยู่เดิมในบริเวณนี้ ขบวนการที่ผิวน้ำทะเลที่อุ่นพัดมาแทนที่กระแสน้ำเย็นในบริเวณนี้ ปกติจะเรียกกันว่า "เอลนีโญ(El Ni? o)" ซึ่งหมายถึง"บุตรของพระคริสต์"ซึ่งมักจะเริ่มเกิดในเดือนธันวาคมหลังเทศกาลคริสต์มาสเล็กน้อยและยืดเยื้อต่อไป อีกประมาณ 2 - 3 เดือนหรือคือช่วงฤดูร้อนของซีกโลกใต้ เพราะช่วงนี้ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้
ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกมักจะมีกำลังอ่อน แม้คำว่า "เอลนีโญ" เดิมจะใช้เรียกปรากฎการณ์ดังกล่าวที่เกิดในบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียง เหนือของทวีปอเมริกาใต้เท่านั้น แต่ต่อมาคำนี้ได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อหมายถึงการที่ผิวน้ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอุณหภูมิสูงขึ้นผิดปกติโดยทั่วไป (Glantz, 1984) ดังนั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ"เอลนีโญ (El Ni? o - EN)"คือการไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่งๆจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่พัดอยู่เดิมตามบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ (ประเทศเอควาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ)เมื่อการอุ่นขึ้นของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้แผ่ขยายกว้างออกไปทั้งในด้านเวลา (ตัวอย่างเช่น ระหว่างฤดูหนาว 2 ฤดูในซีกโลกใต้) ด้านพื้นที่ (ได้แผ่กว้างออกไปในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน)และด้านขนาด( จะอุ่นขึ้นกว่าปีที่ไม่ใช่ปีเอลนีโญ 3 ถึง 7 องศาเซลเซียส) ผลกระทบของเอลนีโญต่อการหมุนเวียนของบรรยากาศและที่สุดต่อสังคมก็จะแผ่ขยายกว้างไกลออกไปนอกเหนือจากบริเวณน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกใต้
เมื่อกล่าวถึงปรากฎการณ์เอลนีโญ ก็จำเป็นจะต้องกล่าวถึงความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation)เนื่องจากในปลายทศวรรษที่ 2500 ได้มีการค้นพบว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญมีความเชื่อมโยงกับความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้อย่างใกล้ชิด (Nicholls N. (1987))"ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation - SO)"หมายถึง การที่บริเวณความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ มีความสัมพันธ์เป็นส่วนกลับกับบริเวณความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรอินเดีย กล่าวคือเมื่อความกดอากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกใต้มีค่าสูง ความกด อากาศบริเวณมหาสมุทรอินเดียจากอาฟริกาถึงออสเตรเลียมักจะมีค่าต่ำและในทางกลับกันก็เช่นเดียวกัน Quinn et. al. (1978) ชี้ให้เห็นว่าความผันแปรนี้เกิดจากการแลกเปลี่ยนอากาศระหว่างความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนในแปซิฟิกใต้ (South Pacific subtropical high) และความกดอากาศต่ำแถบศูนย์สูตร บริเวณประเทศอินโดนีเซีย (Indonesian equatorial low)
กล่าวโดยสรุป จะเกิดการหมุนเวียนของอากาศจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำระหว่างมหาสมุทรทั้งสองอุณหภูมิผิวน้ำทะเล ที่สูงขึ้นผิดปกติ(ตัวอย่างเช่นปรากฎการณ์เอลนีโญ)จะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ครั้งในทุก ๆ 10ปี แม้ว่าช่วงห่างระหว่างการเกิดแต่ละครั้งจะไม่สม่ำเสมอ ก็ตาม การอุ่นขึ้นของน้ำทะเลบริเวณแปซิฟิกตะวันออก กับน้ำทะเลที่เย็นลงบริเวณใกล้ทวีปออสเตรเลีย จะกินเวลาประมาณ 12 เดือน โดยมักจะเริ่มประมาณช่วง ต้นของปีและสิ้นสุดประมาณต้นปีถัดไปปีก่อนและหลังการเกิดเอลนีโญมักจะเป็นปีที่ผิวน้ำทะเลในแปซิฟิกตะวันออกบริเวณเส้นศูนย์สูตรมีอุณหภูมิที่เย็น
"เอนโซ่ (ENSO)" เป็นคำรวมของเอลนีโญและความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (El Ni? o/Southern Oscillation)โดยที่ปรากฎการณ์ทั้งสอง ที่กล่าวมาข้างต้น มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด โดยจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างปรากฎการณ์ในมหาสมุทรและบรรยากาศเข้าด้วยกัน กล่าวคือเอลนีโญเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดในส่วนของมหาสมุทรและความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดในส่วนของบรรยากาศ และได้เชื่อมโยงเป็น ปรากฎการณ์เดียวกัน
ดังนั้นจึงรวมเรียกว่าเอนโซ่ ซึ่งปัจจุบันนักอุตุนิยมวิทยามักจะใช้คำว่าเอนโซ่ แทนคำว่า เอลนีโญ เนื่องจากให้ความหมายที่ถูกต้องสมบูรณ์มากกว่า แต่คำว่าเอลนีโญก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากชื่อนี้เป็นที่คุ้นเคยมาแต่ดั้งเดิม ในเอกสารนี้ ต่อไปจะใช้คำว่าเอนโซ่ แทนคำว่าเอลนีโญนักอุตุนิยมวิทยาทั่วโลก ได้มีการตกลงกันว่าให้มีการใช้ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลที่เกาะตาฮิติ (17? 33ข ใต้ , 149ฐ 20ขตะวันตก)หมู่เกาะโซไซเอททิ (Society) เป็นตัวแทนของระบบความกดอากาศในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลที่เมืองดาร์วิน( 12ฐ 26ข ใต้ , 130ฐ 52ข ตะวันออก) ประเทศออสเตรเลียเป็นตัวแทน ระบบความกดอากาศบริเวณมหาสมุทรอินเดียและออสเตรเลีย และค่าของความแตกต่างระหว่างค่าที่สูงหรือต่ำจากค่าปกติ (pressure anomalies) ของความกดอากาศของเมืองทั้งสองคือ ที่ตาฮิติหักลบกับที่ดาร์วิน จะถูกใช้ให้เป็นดัชนีบอกถึงการผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation Index (SOI)) ซึ่งจะใช้ค่านี้เป็นสัญญาณบอกถึงการเกิดปรากฎการณ์เอนโซ่ได้ตัวหนึ่ง โดยที่ถ้าค่าดัชนีนี้มีค่าเป็นลบก็ให้เฝ้าติดตามว่าอาจจะเกิดปรากฎการณ์เอนโซ่ปรากฎการณ์ เอนโซ่ถูกระบุว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของการแปรปรวนทางภูมิอากาศปีต่อปี เนื่องจากเอนโซ่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนของบรรยากาศและน้ำในน่านน้ำ แปซิฟิก ตัวอย่างเช่นอุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณอินโดนีเซีย-ออสเตรเลียลดลงมีผลทำให้ความกดอากาศในบริเวณนี้สูงขึ้นและในทางกลับ กันอุณหภูมิน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตรสูงขึ้นทำให้ความกดอากาศในบริเวณนี้ลดลง อิทธิพลโดยรวมของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะ ทำให้ลมสินค้าตะวันออก เฉียงใต้ ที่พัดอยู่เป็นประจำบริเวณเขตร้อนในแปซิฟิกใต้ มีแนวโน้มอ่อนกำลังลงทำให้เป็นการตัดแหล่งความชื้นหลักของลมมรสุมเขตร้อนออกไป และยังลดฝนบริเวณออสเตรเลียตะวันออกและบางส่วนของเขตร้อนทางซีกโลกเหนือ การลดลงของฝนมักจะไม่สม่ำเสมอ แต่จะแปรผันไปตามฤดูกาล เอนโซ่ที่รุนแรงเช่นที่เกิดในปี พ.ศ. 2525-26ทำให้ไม่มีฝนตกในบริเวณที่เคยมีฝนตกในแถบเขตร้อน มีผลทำให้เกิดความแห้งแล้งอย่างกว้างขวาง แต่กลับเกิดฝนตกหนักในบริเวณที่เคยแห้งแล้งอยู่แต่เดิม ความผิดปกติของการหมุนเวียนของบรรยากาศได้แผ่กว้างไกลออกไปถึงบริเวณนอกเขตร้อนซึ่งทำให้เกิดสภาวะฤดูหนาวที่ผิดปกติในบริเวณต่าง ๆ ทั่วไป เพราะว่าเอนโซ่เปนปรากฎการณ์ระดับโลก การเกิดที่รุนแรงจึงนำไปสู่ความผิดปกติทางภูมิอากาศอย่างมาก ซึ่งจะเกิดในเวลาไล่เลี่ยกันในบริเวณต่าง ๆทั่วโลก เช่นเดียวกับได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาทางทะเลตามชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้และบางครั้งอเมริกาเหนือด้วย
สาเหตุที่เอนโซ่ทำให้เกิดความแห้งแล้งในบริเวณที่เคยมีฝนตก และเกิดฝนตกหนักบริเวณที่เคยแห้งแล้งอยู่แต่เดิมอธิบายได้โดยการหมุนเวียน ของอากาศแบบวอคเกอร์ (Walker Circulation) ซึ่งคือการหมุนเวียนของอากาศในแนวดิ่ง โดยหมุนเวียนไปทางทิศตะวันออก-ตะวันตกบริเวณเขตศูนย์สูตร ตัวอย่างของภูมิอากาศที่ผิดปกติที่เชื่อมโยงกับเอนโซ่ คือความแห้งแล้งในออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ตอนใต้ของอาฟริกาตอนเหนือของอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และทะเลคาริบเบียน ขณะที่มีน้ำท่วมหรือฝนตกหนักบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาใต้ อาฟริกาตะวันออก และตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา กับมีฤดูหนาวที่หนาวน้อยบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ พร้อมกับลดจำนวนการก่อตัวของพายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทร แอตแลนติค เหนือเหล่านี้เป็นต้น
แมลง....สุดยอดอาหารในอนาคต
แมลงปีกแข็ง อยู่ตามกองมูลสัตว์ หรือในดินใต้กองมูลสัตว์ ถ้ามีแมลงนี้อยู่จะมีรอยขุยอยู่ที่กองมูลสัตว์ จับได้โดยใช้ไม้คุ้ย หรือขุดลงไปในดิน เมื่อได้ตัวแล้วต้องใส่ถังตั้งทิ้งไว้หนึ่งคืน เพื่อให้แมลงถ่ายสิ่งสกปรกออกแล้วนำไปแช่น้ำล้างให้สะอาด รับประทานได้เช่นเดียวกับแมลงกินูน
จิ้งโกร่ง (จิโปม)ขุดรูอยู่ในดินตามคันนา ทุ่งหญ้าในเวลากลางวัน จับโดยใช้จอบขุดกลางคืนบินออกมาเล่นไฟ รับประทานได้โดยนำมา คั่ว ทอด ชุบแป้งทอด เสียบไม้ย่าง หรือนึ่งจิ้งหรีด (จี้หล่อ)มีแหล่งอาศัย อุปนิสัย การดำรงชีวิต และนำมาประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับจิ้งโกร่ง
แมลงกระชอนขุดรูอยู่ในดิน มีขาหน้าใหญ่เป็นหนามแข็งใช้สำหรับขุดดิน บางครั้งบินมาเล่นแสงไฟ รับประทานได้เช่นเดียวกับจิ้งโกร่งตั๊กแตนปาทังก้าเป็นศัตรูสำคัญของพืชหลายชนิดใช้เป็นอาหารโดยนำมาคั่ว ปิ้งทำทอดมันและที่นิยมมากคือนำมาทอดกรอบตั๊กแตนปาทังก้าทอดกรอบสามารถหาซื้อรับประทานได้ทั่วไปในกรุงเทพฯ โดยมีพ่อค้าบรรทุกตั๊กแตนเป็น ๆ มาขายที่ตลาดคลองเตยทุกเช้าในช่วงระยะที่ไม่มีการพ่นสารปราบตั๊กแตนตั๊กแตนเล็ก (ตั๊กแตนข้าว)ตั๊กแตนขนาดเล็กพบทั่ว ๆ ไป กินใบข้าว อ้อย และหญ้า ประกอบอาหารได้โดยนำมา คั่ว นึ่ง หรือทอด
แมลงเม่า
เป็นปลวกที่มีปีกบินออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์จับได้โดยใช้ถุงตาข่ายครอบไว้ที่ปากรังหรือจอมปลวกขณะที่มันบินออก หรือใช้แสงไฟล่อ โดยตั้งภาชนะใส่น้ำไว้ใต้หลอดไฟ แมลงเม่าเมื่อตกลงไปในน้ำแล้วไม่สามารถบินขึ้นมาได้ ในการรับประทานนำมาคั่วและใส่เกลือเล็กน้อย
แมลงมัน
มดขนาดใหญ่ สีน้ำตาลแดง มีปีกตัวยาวประมาณ 1 นิ้ว ชอบบินมาเล่นแสงไฟ รับประทานได้เช่นเดียวกับแมลงเม่า
มดแดง, มดนาง, มดเป้ง ไข่มดแดง
มดแดงทำรังบนต้นไม้ โดยห่อใบให้ติดกัน ภายในรังมดแดงมีมดที่มีลักษณะแตกต่างกันหลายแบบที่เห็นทั่ว ๆ ไป มีตัวสีแดง คือ "มดงาน" ตัวอ่อนและดักแด้ของมดงานมีขนาดเล็กสีขาว ชาวบ้านเรียกว่า "ไข่มดแดง" ส่วนราชินีมดแดง ตัวโตสีเขียว มีปีกเรียกว่า"มดนาง" ตัวอ่อนและดักแด้ของมดนางมีขนาดใหญ่สีขาว เรียกว่า "มดเป้ง"
มดแดง
และมดนาง ใช้ผสมยำอื่น ๆ แทนมะนาว เพราะมีรสเปรี้ยวจากกรดฟอร์มิก ส่วนมดเป้งและไข่มดแดง นำมาหมก ยำผึ้งนอกจากน้ำผึ้งแล้ว ตัวอ่อนผึ้งยังนำมารับประทานได้ โดยนำรังผึ้งที่มีตัวอ่อนไปปิ้ง หรือเคี้ยวรับประทานสด เฉพาะตัวอ่อนนำไปคั่ว ทอด หรือแกงได้หนอนไผ่ (ตัวแน่, รถไฟ)หนอนผีเสื้อกินเยื่อไผ่ในกระบอกไม้ไผ่ พบทางภาคเหนือในช่วงฤดูฝน รับประทานได้โดยนำมาคั่ว หรือทอด เป็นที่นิยมมาก หาซื้อหนอนไผ่นี้ได้ตามท้องตลาด หรือสามารถสั่งซื้อหนอนไผ่ทอดกรอบได้ตามภัตตาคารบางแห่งในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ดักแด้ไหมดักแด้ไหม เมื่อต้นสาวเส้นไหมออกแล้ว ตัวดักแด้ที่อยู่ข้างในปลอกหุ้ม นำมารับประทานได้โดยนำมานึ่ง คั่ว ทอด แกง หรือป่นใส่น้ำพริกตัวจรวด (เครื่องบิน)ผีเสื้อกลางคืนลำตัวอ้วน ปลายท้องแหลม ลักษณะคล้ายจรวดหรือเครื่องบิน มีหลายชนิด ชอบบินมาเล่นแสงไฟ นิยมรับประทานโดยเด็ดปีกแชาน้ำล้างขนออกให้หมด แล้วนำมาคั่ว ทอด หรือปิ้งแมลงโป้งเป้ง (แมงงำ)ตัวอ่อนของแมลงปอ อยู่ในน้ำตามสระ หนอง บึง จับโดยใช้สวิงซ้อน นำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น คั่ว ทอด หมก แกงจักจั่น, เรไรจักจั่น พบตามต้นไม้ ตัวผู้มีอวัยวะทำเสียงดังได้ เรไร มีลักษณะเหมือนจักจั่น แต่มีขนาดใหญ่กว่า ทั้งจักจั่นและเรไร รับประทานได้โดย คั่ว ทอด ปิ้ง ทำลาบ แกง หรือตำเป็นน้ำพริก
แมลงดานาอยู่ในน้ำตามนาข้าว หนอง บึง ชอบบินมาเล่นแสงไฟ จับโดยใช้แสงไฟล่อ โดยเฉพาะไฟสีน้ำเงิน ตัวผู้มีกลิ่นฉุนนำมาตำเป็นน้ำพริก น้ำแจ่ว หรือดองน้ำปลารับประทาน ตัวเมียไม่มีกลิ่นรับประทานได้โดยนำมาปิ้ง ทอด หรือยัดไส้หมูสับ แล้วนึ่ง หรือทอดแมลงดาสวน (แมลงก้าน, มวนตะพาบ, มวนหลังไข่)ตัวมีขนาดเล็กกว่าแมลงดามาก อยู่ในน้ำ ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มติดแน่นอยู่บนหลังตัวผู้ ตัวผู้ดูแลไข่จนฟักออกเป็นตัว แมลงชนิดนี้นำมาประกอบอาหารได้ เช่น คั่ว ทอด หรือตำเป็นน้ำพริกมวนแมงป่องน้ำ (แมลงคันโซ่)รูปร่างคล้ายแมงป่องแซ่ มีหางยาว อยู่ในน้ำ รับประทานได้โดยนำมา คั่ว ทอด นึ่ง ทำลาบ หรือตำเป็นน้ำพริกคุณค่าทางโภชนาการ จากการศึกษาคุณค่าทางอาหารของแมลงในประเทศไทย (2526) พบว่า แมลงตับเต่า, ตั๊กแตนเล็ก และแมลงดานา มีปริมาณโปรตีนและไขมันใกล้เคียงกับโปรตีนและไขมัน จากเนื้อสัตว์ ซึ่งแสดงในตารางที่ 1 ดังนี้ตารางที่ 1 แสดงคุณค่าอาหารของแมลงและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ต่อน้ำหนัก100 กรัมชนิด โปรตีน(กรัม) ไขมัน (กรัม)แมลงตับเต่า 21.0 7.1 ตั๊กแตนเล็ก 20.6 6.1 แมลงดานา 19.8 8.3 ปลาดุก 23.0 2.4 เนื้อไก่ 20.2 12.6 เนื้อวัว 18.8 14.6 เนื้อหมู 14.1 35.0 ไข่ไก่ 12.7 11.9 ที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย (2521) และโภชนาการสาร ปีที่ 17(1) 15-12 พ.ศ. 2526จะเห็นได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโปรตีนในแมลงกับเนื้อสัตว์บางชนิดแล้วไม่แตกต่างกันมากนักในขณะที่เนื้อสัตว์มีราคาแพงขึ้นทุกวันในปัจจุบันแมลงอาจเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญได้ในอนาคตเนื่องจากหาเองได้ง่าย และสามารถเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว แมลงสะอาดกว่าสัตว์ชนิดอื่น และในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าคนไทยทั่ว ๆ ไปไม่เฉพาะแต่มีอยู่ตามชนบทเท่านั้นนิยมรับประทานแมลงมากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีพลโลกเพิ่มขึ้นและอาหารเริ่มขาดแคลนหากมนุษย์จะตัดความคิดรังเกียจขยะแขยงแมลงออกไปเสีย แมลงจะเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน และธาตุต่าง ๆ ให้กับมนุษย์ได้อย่างดี ซึ่งอาจช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอาหารไปได้บ้าง ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้น สัตว์หลายชนิดก็กินแมลงเป็นอาหาร แม้แต่สัตว์เลี้ยง เช่น นก ปลา ไก่ เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการผลิตแมลงเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่นตัวหนอนแดง และดักแด้ไหม ใช้เป็นอาหารปลาทำให้ปลาสมบูรณ์แข็งแรง มีสีสันสวยงามข้อมูลจาก http://web.ku.ac.th/agri/insectt/inc3.htm
โดยส่วนมากคนไทยนิยมกินแมลง เนื่องมาจากวัฒนธรรมการบริโภคและภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาตามสภาพเศรษฐกิจ เพื่อหาแหล่งอาหารมี่มาทดแทนเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพง อย่างเช่นคนภาคอีสานที่นิยมกินแมลง เพราะหาได้ง่าย การเลือกกินแมลงอย่างปลอดภัย 1. ควรเป็นแมลงที่รู้จักและนิยมนำมารับประทานได้ และควรเลือกแมลงที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติที่ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช 2. ควรเป็นแมลงที่จับขณะยังมีชีวิตอยู่ และนำมาปรุงอาหารทันที 3. ควรหลีกเลี่ยงแมลงที่เป็นพาหะของโรคต่าง ๆ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ 4. ควรหลีกเลี่ยงแมลงที่มีสีสันสดใส ซึ่งส่วนใหญ่จะมีพิษมากกว่าแมลงที่ไม่มีสี 5. ควรปรุงอาหารให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง ซึ่งอาจจะทำให้สุกด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การคั่ว การทอด การย่าง การปิ้ง การต้ม หรือวิธีอื่น ๆ 6. ควรจะเด็ดปีก ขา ขน หรือ หนามแข็ง ๆ ของแมลง ก่อนนำมารับประทาน ข้อแนะนำ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงการกินแมลงทอด เพราะอาจทำให้ได้รับสารฮีสตามีนปริมาณมากส่งผลให้อาการแพ้กำเริบและหากรับประทานมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ถึงแม้แมลงเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ดังนั้นการที่จะเลือกกินแมลงเป็นอาหารก็ควรที่จะเลือกกินอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อจะได้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ..