วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

“ภาวะโลกร้อน” ความเครียดของโลก



“ภาวะโลกร้อน” ความเครียดของโลก
ปัจจุบัน ประชาคมโลกให้ความสำคัญกับปัญหาที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยตระหนักว่า สิ่งแวดล้อมดีหรือไม่ดีล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนพลโลกกันถ้วนหน้า

ในประเทศไทยเอง ...เรื่องราวของการตรวจสอบมลพิษในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดก็กำลังเข้มข้น เป็นข่าวพาดหัวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
ในระดับโลก...ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อันมีสาเหตุจากปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นตัวการสำคัญ ก็กำลังได้รับความสนใจยิ่ง

เมื่อวันจันทร์ที่ 29 มกราคม ที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ก็ได้ออกมาย้ำว่า คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี (Intergovernment Panel on Climate Change, IPCC) กำลังประชุมกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อตรวจ (ร่าง) รายงานว่าด้วยเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณชนในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 นี้


รายงานดังกล่าว รวบรวมงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ 2,500 คน จากกว่า 130 ประเทศ โดยใช้เวลาในการรวบรวมถึง 6 ปี

เนื้อหาเด่นของรายงานระบุว่า มีความเป็นไปได้อย่างน้อย 90 เปอร์เซนต์ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเมื่อ 6 ปี ที่แล้ว รายงานระบุความเป็นไปได้อยู่ที่ 66 เปอร์เซ็นต์(สรุปก็คือ รายงานได้เพิ่มความน่าเชื่อถือว่ามนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อน)

ในรายงาน ยังได้นำเสนอผลการประเมินแนวโน้มที่ว่า ในช่วงศตวรรษที่ 21 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2.0-4.5 องศาเซลเซียส

แม้หลายประเทศที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร รวมทั้งประเทศไทยสัมผัสอากาศร้อนจนเคยชิน คนไทยหลายคนจึงไม่ค่อยตื่นตัวว่า “อุณหภูมิที่สูงขึ้นไม่กี่องศาที่เพิ่มขึ้นนั้น จะกระทบกับกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นอย่างไร?” แต่หลักฐานผลการวิจัยของปัญหาอันอาจมีสาเหตุจากโลกร้อนหลายชิ้นทั่วโลก ที่ทยอยเผยแพร่ออกมาในช่วง 2 –3 ปีที่ผ่านมา เช่น
- พืชอย่างดอกเชอร์รี่ และองุ่น ออกดอกและผลเร็วกว่าปกติ
- เพนกวินจักรพรรดิในทวีปแอนตาร์กติกหรือขั้วโลกใต้ มีจำนวนคู่ผสมพันธุ์ลดลงจาก 300 คู่ เหลือเพียง 9 คู่
- องค์การอนามัยโลกได้สำรวจการแพร่ระบาดของมาลาเรียในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรปในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่ามาลาเรียได้ขยายวงจากสามประเทศ ไปถึงรัสเซียกับอีก 6 ประเทศใกล้เคียง

และอีกหลายๆ ผลการวิจัย [น้ำท่วม คลื่นความร้อนสูง พื้นที่แห้งแล้ง ภูเขาน้ำแข็งละลาย (ที่กระทบต่อปริมาณน้ำทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง) ฯลฯ ] ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาร่วมกันของประเทศไทยกับประเทศอื่นทั่วโลก

ไม่มีความคิดเห็น: