วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง


หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง
Center of Excellence for Shrimp Molecular Biology and Biotechnology

หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้งหรือมีชื่อย่อว่า Centex Shrimp ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2544 หน่วยวิจัยฯ นี้เกิดขึ้นจากการผนึกกำลังของห้องปฏิบัติการ จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ภาควิชาชีวเคมีและภาควิชา เทคโนโลยี ชีวภาพ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิสัยทัศน์
มุ่งสู่การผลิตกุ้งคุณภาพสูงจากแหล่งที่ดีที่สุดโดยประเทศไทยจะเป็นผู้นำทางด้านการผลิตกุ้งปลอดเชื้อที่มีสุขภาพดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเลี้ยงในระบบที่ได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยไม่ทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
พันธกิจใช้หลักการและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมาผลิตกุ้งที่มีคุณภาพสูงนำความรู้ความเข้าใจที่ได้ จากงานวิจัย ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ดีมาใช้ในการสนับสนุน นำงานวิจัยทางอณูชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีสุขภาพดี มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
กลยุทธ์
-ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับกุ้งกุลาดำ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และหน่วยงานทั้งภายในประเทศและนานาชาติ
-ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแห่งชาติและระดับภาคพื้นภูมิภาคในการทำงานวิจัยและฝึกอบรมทางด้านอณูชีววิทยาและ เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
-ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทย เพื่อให้งานวิจัยของ Centex Shrimp มิใช่เป็นประโยชน์เพียงเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม การเลี้ยงกุ้งของไทยได้ด้วย

งานวิจัยและพัฒนา
มุ่งเน้นงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในด้านโมเลกุลและเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมุ่งเน้นงานวิจัยใน 6 ด้านหลักคือ

-การศึกษาโรคกุ้งที่เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และปาราสิตในระดับโมเลกุล
-การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคในกุ้งชนิดสำเร็จรูป
-การศึกษากลไกระบบภูมิคุ้มกันในระดับน้ำเหลืองและเซลล์กุ้ง
-การตรวจสอบวิเคราะห์จีโนมกุ้ง
-การวิจัยทางโภชนาการของกุ้ง
-การพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์กุ้งกุลาดำให้ปลอดเชื้อ
ผลงานเด่น
งานวิจัยของหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ได้รับความสนใจและสามารถนำเข้าสู่ตลาดได้ ตัวอย่างของงานวิจัย ได้แก่ การผลิตชุดตรวจพีซีอาร์ เพื่อตรวจโรคไวรัสในกุ้งกุลาดำ เช่น ไวรัสตัวแดงดวงขาว ไวรัสหัวเหลือง และ ไวรัส HPV ภายใต้ชื่อการค้า Ezee Gene การผลิตชุดตรวจโมโนโคลนอล แอนติบอดี สำหรับโรคไวรัสหัวเหลืองในกุ้งกุลาดำ โดยหน่วยวิจัยฯ ร่วมมือกับหน่วยธุรกิจโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ที่ก่อตั้งโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ นำผลงานวิจัยไปต่อยอดในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาชุดตรวจสอบ nested-RT PCR สำหรับไวรัสหัวเหลือง ซึ่งในปัจจุบันได้มอบลิขสิทธิ์ให้แก่บริษัท Farm Intelligene Technology Cooporation ประเทศไต้หวัน
รางวัลที่ได้รับ
-รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ประจำปีพ.ศ.2543 โดยคณะผู้วิจัยประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม วิทยชำนาญกุล ศาสตราจารย์ ดร.ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล และ ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย บุญแสง ภายใต้การวิจัยเรื่อง การวินิจฉัยและการควบคุมโรคไวรัสในกุ้งกุลาดำ
-รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปีพ.ศ.2546 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตกุ้งกุลาดำ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การวิจัยเรื่อง การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอในการวินิจฉัยโรคและการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาดำ (ศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม วิทยชำนาญกุล ศาสตราจารย์ ดร.ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล และ ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย บุญแสง โดยความร่วมมือกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
-รางวัลทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทยเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ปี 2548 ของบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งชาติ (UNESCO) ภายใต้การวิจัยเรื่อง “การศึกษาพาหะของเชื้อ Taura Syndrome Virus ด้วยวิธี RT-PCR” (นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย)
การบริการวิชาการ
-การจัดการฝึกอบรมในระดับภูมิภาคประจำปีในหัวข้อชีววิทยาและพยาธิวิทยาในกุ้งโดยมีผู้ร่วมอบรม จากมหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรม และผู้สนใจจากต่างประเทศ
-การผลิตนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งจะมีการหมุนเวียนของนักศึกษาปริญญาโทและเอกจำนวน 15-20 คนตลอดเวลา
-การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการการควบคุมโรคกุ้ง รวมทั้งการพัฒนาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กุ้ง
-การจัดฝึกอบรมต่างๆ ตามความสนใจของภาคอุตสาหกรรม
อุปกรณ์การวิจัยที่สำคัญ
-ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ
-ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อและกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องผ่าน
-ห้องปฏิบัติการพีซีอาร์และ Proteomics
-บ่อทดลองเลี้ยงกุ้ง
การร่วมมือกับหน่วยงานอื่นหน่วยงานในประเทศ
-กรมวิชาการเกษตร ในการทำงานเกี่ยวกับการควบคุมโรคและการเลี้ยงกุ้งปลอดเชื้อ
-ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการทำงานเกี่ยวกับพันธุกรรมกุ้ง
-ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในการทำงานเกี่ยวกับการแยก การศึกษา คุณสมบัติของเชื้อโรค รวมทั้งวิธีวินิจฉัย
-ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการพัฒนาชุดตรวจสอบที่ใช้ ในการวินิจฉัยโรค
-ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการศึกษากลไกที่เกี่ยวข้องกับการตายของกุ้งแบบ Apoptosis
-ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการพัฒนาชุดตรวจสอบในการวินิจฉัย และควบคุมโรค
หน่วยงานต่างประเทศ
-Zoology department, National University of Taiwan on shrimp disease and genetics
-CSIRO Livestock Industries, Queensland Bioscience Precinct, Australia on shrimp diagnosis and control
-Department of Comparative Physiology, Evolutionary Biology Center, Uppsala
-University, Sweden on the shrimp defense system
-James Cook University, Australia on shrimp pathogen characterization
-Oceanic Institute, Hawaii on shrimp maturation and genetics
บุคลากร
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง มีจำนวนบุคลากรทั้งสิ้น 17 คน ประกอบด้วยบุคลากร ที่เป็นนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย 15 คน (ปริญญาเอก 8 คน ปริญญาโท 2 คน ปริญญาตรี 5 คน) บุคลากรสนับสนุนการวิจัย 2 คน โดยมี ศ.ดร.ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหน่วยวิจัยฯ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2548)

ไม่มีความคิดเห็น: