วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หน่วยจุลชีววิทยาการเพาะเชื้อจากเลือด

การเพาะเชื้อจากเลือด ใช้เครื่องอัตโนมัติสำหรับตรวจหาเชื้อจากเลือด ขวดใส่เลือดเพื่อเพาะเชื้อสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (20-28°C) มี 2 ชนิด คือ
Aerobic culture เก็บเลือดจำนวน 5-10 ml.
Pedi-BacT-Aerobic culture bottleเก็บเลือดจำนวน 0.5-4 ml. (เด็กเล็ก)การรายงานผล : เครื่อง incubator สำหรับเพาะเชื้อจากเลือดจะ detect ได้รวดเร็ว ถ้ามีเชื้อเจริญในขวดเพาะเชื้อ เมื่อย้อมสี gram stain แล้วรายงานผลทันทีทาง เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเปิดได้ที่หอผู้ป่วย และหน่วยฯจะแจ้งผล gram strain ทางโทรศัพท์ จึงขอให้พยาบาลที่รับสายแจ้งชื่อ เมื่อ subculture จากขวดลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อสำหรับ แยกพิสูจน์ชนิดและทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต่อไป ซึ่งสามารถรายงานผลหลัง subculture 2 วัน กรณีไม่มีเชื้อขึ้นรายงาน “No bacterial growth after 1 day” ขวดจะถูก incubate ต่อไปจนครบ 7 วัน ถ้าเชื้อเจริญขึ้นจะทำเช่นเดียวกับข้างต้น เมื่อ ครบ 7 วันไม่มีเชื้อขึ้นรายงาน “No bacterial growth within 7 days”

การเพาะเชื้อจาก cerebral spinal fluid (CSF) และ body fluids (pleural, joint, peritoneal) ในคนปกติสิ่งส่งตรวจเหล่านี้เป็นส่วนที่ปลอดเชื้อ (sterile) เช่นเดียวกับเลือด ไม่มีเชื้อประจำถิ่น ดังนั้นการเก็บสิ่งส่งตรวจจำเป็นต้องระวังเรื่อง aseptic technique เพราะการปนเปื้อนที่เกิดจากวิธีเก็บไม่ถูกต้อง ทำให้แปลผล ผิดพลาด มีผลต่อการรักษา การรายงานผล : ขั้นตอนการตรวจสอบเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจรวมทั้งเชื้อ aerobe และ anaerobe เมื่อพบว่ามีเชื้อ จะรายงานผลชนิดของเชื้อ และ ความไวของเชื้อ ต่อยา ต้านจุลชีพ การเพาะเชื้อจากหนอง (pus)การรายงานผล1. เชื้อก่อโรค (pathogen) ที่พบจะรายงาน “จำนวนเชื้อที่พบ (แบ่งเป็น 4 ระดับคือ rare, few, moderate, numerous) ชื่อเชื้อและความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ” 2. เชื้อที่ไม่ก่อโรค (non-pathogen) หรือเชื้อประจำถิ่น (normal flora) รายงานจำนวนเชื้อที่พบและชื่อเชื้อเท่านั้น ไม่รายงานผลความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ3. ถ้าไม่มีเชื้อขึ้น จะรอผลอีก 1 วัน หากไม่พบเชื้อรายงานว่า “No bacterial growth”
การเพาะเชื้อจาก throat swab บริเวณดังกล่าว มีเชื้อประจำถิ่นอยู่ควรเก็บตัวอย่าง แล้ว นำส่งห้องปฏิบัติการทันที มิฉะนั้นการแปลผลเพาะเชื้ออาจผิดพลาด การรายงานผล1. รายงานจำนวนเชื้อ ชื่อเชื้อและความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ2. รายงาน “Normal throat flora” เป็นเชื้อที่พบประจำถิ่น ได้แก่ Streptococci (Viridan group), Neisseria spp., Diphtheroid, Coagulase negative Staphylococci (CNS)
การเพาะเชื้อจากเสมหะ (sputum)1. การรายงานผล การเพาะเชื้อ aerobe 1.1. รายงานจำนวนเชื้อ ชื่อเชื้อและความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ 1.2. รายงาน “Normal throat flora” เป็นเชื้อที่พบประจำถิ่น ได้แก่ Streptococci (Viridan group), Neisseria spp., Diphtheroid, Coagulase negative Staphylococci (CNS) 2. การเพาะเชื้อ TB วิธีทดสอบแบบ manual รายงานผลภายใน 4-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นประมาณ 2-3 เดือน จึงรายงานผล ความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ สำหรับวิธีอัตโนมัติ (เครื่อง MB BacT/Alert) รายงานผลภายใน 2 สัปดาห์ ต่อมา 2-3 เดือน จะรายงาน ผลความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ3. การย้อม AFB หากผู้ป่วยรอผล ให้เขียนในใบ request อย่างชัดเจนเพื่อจะทดสอบก่อนกรณีไม่พบเชื้อ รายงานผล “No acid fast bacilli found” และจำนวนเม็ดเลือดขาวที่พบ กรณีพบเชื้อ รายงานผล “Positive for AFB” และจำนวนเชื้อที่พบต่อสไลด์ ตั้งแต่ 1+-3+ หรือจำนวนตัวเชื้อต่อสไลด์ และจำนวนเม็ดเลือดขาว
การเพาะเชื้อจากปัสสาวะ (urine)1. การรายงานผล Mid-stream urine 1.1ไม่มีเชื้อขึ้นรายงาน "Less than 103 CFU/ml"1.2 เชื้อขึ้นน้อยกว่า 5 x 104 CFU/ml รายงานปริมาณและลักษณะเชื้อที่พบตาม gram stain (ยกเว้นกรณีที่บอกชนิดได้จากการดูลักษณะ colony ประกอบกับ gram stain เช่น Corynebacterium spp และ Staphylococcus spp เป็นต้น จึงจะบอกชื่อเชื้อ)1.3 เชื้อขึ้น 5 x 104 - 105 CFU/ml หนึ่งหรือสองชนิด รายงานปริมาณ ชื่อเชื้อ และความไว ของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ ถ้าพบมากกว่าสองชนิดรายงาน“Mixed bacterial growth about 104-105 CFU/ml” 1.4 เชื้อขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 105 CFU/ml หนึ่งหรือสองชนิด รายงานปริมาณ ชื่อเชื้อและ ความไวต่อยาต้านจุลชีพ หากพบตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปรายงาน “Mixed bacterial growth more than 105 CFU/ml” หมายเหตุ : การวินิจฉัยว่าเป็น UTI (cystitis, pyelonephritis) ถึงแม้มีปริมาณเชื้อน้อยกว่า 5x104 CFU/ml จะรายงานชื่อเชื้อและความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ 2. การรายงานผล Catheterized urine หรือ suprapubic aspiration สิ่งส่งตรวจนี้จัดเป็น บริเวณปลอดเชื้อ หากติดเชื้อแม้เพียง 1 colony ถือว่ามีนัยสำคัญ รายงานปริมาณเชื้อ ชื่อเชื้อ และความไวต่อยาต้านจุลชีพ ทั้งนี้ ควรเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยวิธี aseptic technique เพื่อไม่ให้แปลผลผิดพลาดจากการปนเปื้อนในการเก็บ ไม่มีเชื้อขึ้นรายงาน “No growth”
การเพาะเชื้อจากอุจจาระ (stool หรือ rectal swab) สิ่งส่งตรวจนี้จะพบเชื้อประจำถิ่นได้ในคนปกติ จำเป็นต้องใช้อาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ เพาะเชื้อเพื่อแยกเชื้อก่อโรค เชื้อก่อโรคที่พบได้แก่ Salmonella spp., Shigella spp., Vibrio spp. (V. cholerae และ V. parahaemolyticus), Aeromonas spp. กรณีย้อม AFB จาก stool รับตรวจเฉพาะผู้ป่วยที่มีผล HIV positive เท่านั้นการรายงานผล รายงานชนิดของเชื้อก่อโรคและ ผลความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ ถ้าไม่พบรายงาน “Non-enteropathogenic bacteria”
การเพาะเชื้อ anaerobe ควรระบุ diagnosis ในใบ request และรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการทดสอบ ซึ่งโอกาสที่พบเชื้อมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเก็บที่ถูกตำแหน่งและวิธี ไม่ควรใช้ไม้พันสำลี (swab) เพราะเชื้อ anaerobeจะตายง่ายเมื่อสัมผัสกับอากาศ สิ่งส่งตรวจที่ไม่ควรส่งเพาะเชื้อ anaerobe คือ sputum, throat swab, urine, vaginal swab และ stool/ rectal swab (ยกเว้นสงสัย C. difficile หรือ Campylobacter) การรายงานผล การเพาะเลี้ยงเชื้อ anaerobeใช้เวลา 3-5 วัน หากมีเชื้อหลายชนิด อาจต้อง ใช้เวลาเพิ่มในการพิสูจน์ชนิดของเชื้อ จะรายงานเบื้องต้นว่ามีเชื้อ anaerobe ขึ้น โดย รายงานลักษณะ gram stain ของเชื้อ รายงานทั้ง anaerobe และ aerobe ถ้าไม่มีเชื้อขึ้นจะตรวจสอบทุกวันทั้ง 10 วัน ไม่พบเชื้อรายงาน “No anaerobic bacterial growth ” ถ้าเชื้อขึ้นรายงานชนิดของเชื้อและความไวต่อยาต้านจุลชีพ
การเพาะเชื้อรา (fungus) และตรวจหาเชื้อราโดยวิธี KOH preparation การรายงานผล1. การเพาะเชื้อรา รายงานชนิดของเชื้อที่พบ ถ้าไม่มีเชื้อขึ้นจะเก็บไว้จนครบ 2 สัปดาห์ ก่อนรายงานผลว่า “No fungal growth” 2. การตรวจ KOH ถ้าพบเชื้อรารายงาน ลักษณะสายราและปริมาณเชื้อที่พบ กรณีไม่พบเชื้อรายงาน “Not found” ผลจะได้รับภายในวันที่ส่งตรวจ หากรอรับผลทันที ให้เขียนในใบ request ว่ารอรับผล เพื่อจะได้ทดสอบให้ก่อนเป็นกรณีพิเศษ
การทดสอบ MIC และ MBC Minimum inhibitory concentration (MIC) และ Minimum bactericidal concentration (MBC) สำหรับเชื้อที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจ เพื่อหาความเข้มข้นของ ยาต้านจุลชีพที่น้อยที่สุดในการยับยั้งหรือฆ่าเชื้อตามลำดับ แพทย์ผู้รักษาจะพิจารณา ความเหมาะสมในการทดสอบ MIC และ MBC ขอให้ติดต่อ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการล่วงหน้า เพราะเชื้ออาจถูกทิ้งไปก่อนหรือเชื้อจะ subculture ก่อนการทดสอบ แต่ถ้ามีเชื้ออยู่จึงส่งใบ request ได้
การทดสอบ antimicrobial activity (serum inhibitory titer, SIT และ serum bactericidal titer, SBT) ติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า เพื่อรับหลอดเก็บเลือดก่อนและหลังให้ยาต้านจุลชีพ ใส่หลอดแก้ว ปราศจากเชื้อ อย่างละ 1 หลอด ๆ ละ 10 ml. นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบ request ที่กรอกรายละเอียดชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น: