วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ปรากฎการณ์เอลนีโญ

ปรากฎการณ์เอลนีโญ ปรากฎการณ์เอนโซ่ (เอลนีโญ/ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ) ENSO (El Nin o/Southern Oscillation) Phenomenonตามปกติ บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ หรือทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตร จะมีน้ำเย็นใต้มหาสมุทรพัดขึ้นมายังผิวน้ำ ขบวนการนี้คือการพัดขึ้นมาแทนที่ของกระแสน้ำเย็นจากใต้มหาสมุทรขึ้นมาตาม บริเวณชายฝั่งอัน เป็นผลเกิดจากลมสินค้า ตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงพัดขนานฝั่งบวกกับการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่ลมบวกกับการหมุนของ โลกผลักดันให้ผิวน้ำเบื้องบน ที่อุ่นพัดห่างจากฝั่งไป น้ำเย็นข้างล่างที่อุดมด้วยแร่ธาตุอาหารปลาจะพัดขึ้นมาแทนที่ผิวน้ำอุ่นที่ถูกพัดพาไป บริเวณชายฝั่งที่มีกระแสน้ำเย็น พัดขึ้นมาแทนที่จะเป็นบริเวณที่เหมาะที่สุดสำหรับการเจริญพันธุ์ของปลาทะเล ทั่วโลกจะมีบริเวณเช่นนี้อยู่ 5 บริเวณใหญ่ ๆ คือ
1. บริเวณชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย(ชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา)
2. ชายฝั่งประเทศ เปรู(ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้)
3. ชายฝั่งประเทศนามิเบีย(ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอาฟริกา)
4. ชายฝั่งประเทศโมริตาเนีย ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอาฟริกา)
5. ชายฝั่งประเทศโซมาเลีย(ชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปอาฟริกา)

สำหรับชายฝั่งประเทศเปรูเป็นบริเวณที่มีผลผลิตของปลามากที่สุดแห่งหนึ่ง

ปกติลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้จะพัดอยู่เป็นประจำบริเวณเขตร้อนในซีกโลกใต้(ระหว่างเส้นศูนย์สูตรและละติจูด 30องศาใต้)และบางครั้งลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดอยู่บริเวณตะวันตกและตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้จะอ่อนกำลังลงหรือพัดกลับทิศตรงกันข้าม ซึ่งจะมีผลก่อให้เกิดคลื่น มหาสมุทรพัดพาไป ในทิศตะวันออกสวนกับทิศลมเดิม เมื่อคลื่นนี้พัดพาไปถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้(บริเวณประเทศเปรูใกล้กับเส้นศูนย์สูตร) ผิวน้ำทะเลที่อุ่น ที่ถูกพัดพามาด้วยคลื่นก็จะแทนที่กระแสน้ำเย็นที่พัดขึ้นมาจากใต้มหาสมุทรซึ่งมีอยู่เดิมในบริเวณนี้ ขบวนการที่ผิวน้ำทะเลที่อุ่นพัดมาแทนที่กระแสน้ำเย็นในบริเวณนี้ ปกติจะเรียกกันว่า "เอลนีโญ(El Ni? o)" ซึ่งหมายถึง"บุตรของพระคริสต์"ซึ่งมักจะเริ่มเกิดในเดือนธันวาคมหลังเทศกาลคริสต์มาสเล็กน้อยและยืดเยื้อต่อไป อีกประมาณ 2 - 3 เดือนหรือคือช่วงฤดูร้อนของซีกโลกใต้ เพราะช่วงนี้ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้

ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกมักจะมีกำลังอ่อน แม้คำว่า "เอลนีโญ" เดิมจะใช้เรียกปรากฎการณ์ดังกล่าวที่เกิดในบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียง เหนือของทวีปอเมริกาใต้เท่านั้น แต่ต่อมาคำนี้ได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อหมายถึงการที่ผิวน้ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอุณหภูมิสูงขึ้นผิดปกติโดยทั่วไป (Glantz, 1984) ดังนั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ"เอลนีโญ (El Ni? o - EN)"คือการไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่งๆจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่พัดอยู่เดิมตามบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ (ประเทศเอควาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ)เมื่อการอุ่นขึ้นของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้แผ่ขยายกว้างออกไปทั้งในด้านเวลา (ตัวอย่างเช่น ระหว่างฤดูหนาว 2 ฤดูในซีกโลกใต้) ด้านพื้นที่ (ได้แผ่กว้างออกไปในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน)และด้านขนาด( จะอุ่นขึ้นกว่าปีที่ไม่ใช่ปีเอลนีโญ 3 ถึง 7 องศาเซลเซียส) ผลกระทบของเอลนีโญต่อการหมุนเวียนของบรรยากาศและที่สุดต่อสังคมก็จะแผ่ขยายกว้างไกลออกไปนอกเหนือจากบริเวณน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกใต้

เมื่อกล่าวถึงปรากฎการณ์เอลนีโญ ก็จำเป็นจะต้องกล่าวถึงความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation)เนื่องจากในปลายทศวรรษที่ 2500 ได้มีการค้นพบว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญมีความเชื่อมโยงกับความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้อย่างใกล้ชิด (Nicholls N. (1987))"ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation - SO)"หมายถึง การที่บริเวณความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ มีความสัมพันธ์เป็นส่วนกลับกับบริเวณความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรอินเดีย กล่าวคือเมื่อความกดอากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกใต้มีค่าสูง ความกด อากาศบริเวณมหาสมุทรอินเดียจากอาฟริกาถึงออสเตรเลียมักจะมีค่าต่ำและในทางกลับกันก็เช่นเดียวกัน Quinn et. al. (1978) ชี้ให้เห็นว่าความผันแปรนี้เกิดจากการแลกเปลี่ยนอากาศระหว่างความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนในแปซิฟิกใต้ (South Pacific subtropical high) และความกดอากาศต่ำแถบศูนย์สูตร บริเวณประเทศอินโดนีเซีย (Indonesian equatorial low)

กล่าวโดยสรุป จะเกิดการหมุนเวียนของอากาศจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำระหว่างมหาสมุทรทั้งสองอุณหภูมิผิวน้ำทะเล ที่สูงขึ้นผิดปกติ(ตัวอย่างเช่นปรากฎการณ์เอลนีโญ)จะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ครั้งในทุก ๆ 10ปี แม้ว่าช่วงห่างระหว่างการเกิดแต่ละครั้งจะไม่สม่ำเสมอ ก็ตาม การอุ่นขึ้นของน้ำทะเลบริเวณแปซิฟิกตะวันออก กับน้ำทะเลที่เย็นลงบริเวณใกล้ทวีปออสเตรเลีย จะกินเวลาประมาณ 12 เดือน โดยมักจะเริ่มประมาณช่วง ต้นของปีและสิ้นสุดประมาณต้นปีถัดไปปีก่อนและหลังการเกิดเอลนีโญมักจะเป็นปีที่ผิวน้ำทะเลในแปซิฟิกตะวันออกบริเวณเส้นศูนย์สูตรมีอุณหภูมิที่เย็น

"เอนโซ่ (ENSO)" เป็นคำรวมของเอลนีโญและความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (El Ni? o/Southern Oscillation)โดยที่ปรากฎการณ์ทั้งสอง ที่กล่าวมาข้างต้น มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด โดยจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างปรากฎการณ์ในมหาสมุทรและบรรยากาศเข้าด้วยกัน กล่าวคือเอลนีโญเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดในส่วนของมหาสมุทรและความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดในส่วนของบรรยากาศ และได้เชื่อมโยงเป็น ปรากฎการณ์เดียวกัน

ดังนั้นจึงรวมเรียกว่าเอนโซ่ ซึ่งปัจจุบันนักอุตุนิยมวิทยามักจะใช้คำว่าเอนโซ่ แทนคำว่า เอลนีโญ เนื่องจากให้ความหมายที่ถูกต้องสมบูรณ์มากกว่า แต่คำว่าเอลนีโญก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากชื่อนี้เป็นที่คุ้นเคยมาแต่ดั้งเดิม ในเอกสารนี้ ต่อไปจะใช้คำว่าเอนโซ่ แทนคำว่าเอลนีโญนักอุตุนิยมวิทยาทั่วโลก ได้มีการตกลงกันว่าให้มีการใช้ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลที่เกาะตาฮิติ (17? 33ข ใต้ , 149ฐ 20ขตะวันตก)หมู่เกาะโซไซเอททิ (Society) เป็นตัวแทนของระบบความกดอากาศในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลที่เมืองดาร์วิน( 12ฐ 26ข ใต้ , 130ฐ 52ข ตะวันออก) ประเทศออสเตรเลียเป็นตัวแทน ระบบความกดอากาศบริเวณมหาสมุทรอินเดียและออสเตรเลีย และค่าของความแตกต่างระหว่างค่าที่สูงหรือต่ำจากค่าปกติ (pressure anomalies) ของความกดอากาศของเมืองทั้งสองคือ ที่ตาฮิติหักลบกับที่ดาร์วิน จะถูกใช้ให้เป็นดัชนีบอกถึงการผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation Index (SOI)) ซึ่งจะใช้ค่านี้เป็นสัญญาณบอกถึงการเกิดปรากฎการณ์เอนโซ่ได้ตัวหนึ่ง โดยที่ถ้าค่าดัชนีนี้มีค่าเป็นลบก็ให้เฝ้าติดตามว่าอาจจะเกิดปรากฎการณ์เอนโซ่ปรากฎการณ์ เอนโซ่ถูกระบุว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของการแปรปรวนทางภูมิอากาศปีต่อปี เนื่องจากเอนโซ่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนของบรรยากาศและน้ำในน่านน้ำ แปซิฟิก ตัวอย่างเช่นอุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณอินโดนีเซีย-ออสเตรเลียลดลงมีผลทำให้ความกดอากาศในบริเวณนี้สูงขึ้นและในทางกลับ กันอุณหภูมิน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตรสูงขึ้นทำให้ความกดอากาศในบริเวณนี้ลดลง อิทธิพลโดยรวมของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะ ทำให้ลมสินค้าตะวันออก เฉียงใต้ ที่พัดอยู่เป็นประจำบริเวณเขตร้อนในแปซิฟิกใต้ มีแนวโน้มอ่อนกำลังลงทำให้เป็นการตัดแหล่งความชื้นหลักของลมมรสุมเขตร้อนออกไป และยังลดฝนบริเวณออสเตรเลียตะวันออกและบางส่วนของเขตร้อนทางซีกโลกเหนือ การลดลงของฝนมักจะไม่สม่ำเสมอ แต่จะแปรผันไปตามฤดูกาล เอนโซ่ที่รุนแรงเช่นที่เกิดในปี พ.ศ. 2525-26ทำให้ไม่มีฝนตกในบริเวณที่เคยมีฝนตกในแถบเขตร้อน มีผลทำให้เกิดความแห้งแล้งอย่างกว้างขวาง แต่กลับเกิดฝนตกหนักในบริเวณที่เคยแห้งแล้งอยู่แต่เดิม ความผิดปกติของการหมุนเวียนของบรรยากาศได้แผ่กว้างไกลออกไปถึงบริเวณนอกเขตร้อนซึ่งทำให้เกิดสภาวะฤดูหนาวที่ผิดปกติในบริเวณต่าง ๆ ทั่วไป เพราะว่าเอนโซ่เปนปรากฎการณ์ระดับโลก การเกิดที่รุนแรงจึงนำไปสู่ความผิดปกติทางภูมิอากาศอย่างมาก ซึ่งจะเกิดในเวลาไล่เลี่ยกันในบริเวณต่าง ๆทั่วโลก เช่นเดียวกับได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาทางทะเลตามชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้และบางครั้งอเมริกาเหนือด้วย

สาเหตุที่เอนโซ่ทำให้เกิดความแห้งแล้งในบริเวณที่เคยมีฝนตก และเกิดฝนตกหนักบริเวณที่เคยแห้งแล้งอยู่แต่เดิมอธิบายได้โดยการหมุนเวียน ของอากาศแบบวอคเกอร์ (Walker Circulation) ซึ่งคือการหมุนเวียนของอากาศในแนวดิ่ง โดยหมุนเวียนไปทางทิศตะวันออก-ตะวันตกบริเวณเขตศูนย์สูตร ตัวอย่างของภูมิอากาศที่ผิดปกติที่เชื่อมโยงกับเอนโซ่ คือความแห้งแล้งในออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ตอนใต้ของอาฟริกาตอนเหนือของอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และทะเลคาริบเบียน ขณะที่มีน้ำท่วมหรือฝนตกหนักบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาใต้ อาฟริกาตะวันออก และตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา กับมีฤดูหนาวที่หนาวน้อยบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ พร้อมกับลดจำนวนการก่อตัวของพายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทร แอตแลนติค เหนือเหล่านี้เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: